|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ (HISTORY) บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของ นักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไป ในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้น ของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิต และได้รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วย บุรีรัมย์ แบ่งการปกครองออกเป็น 18อำเภอ กับ 4กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอประโคนชัย อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอกระสัง อำเภอบ้านกรวด อำเภอคูเมือง อำเภอละหานทราย อำเภอหนองกี่ อำเภอปะคำ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอหนองหงส์ อำเภอพลับพลาชัย อำเภอห้วยราช อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ กิ่งอำเภอบ้านด่าน กิ่งอำเภอชำนิ กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และกิ่งอำเภอโนนดินแดง อำเภอที่อยู่ติดชายแดนได้แก่ อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย วิศัยทัศน์จังหว้ดบุรีรัมย์
"คนบุรีรัมย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบ้านเมืองน่าอยู่ และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางอารยธรรมขอม"
คำขวัญ
ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นแป๊ะ
ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 10,321,885 ตารางกิโลเมตรหรือ 6,451,178 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือร้อยละ 2.01 ของประเทศใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และสุรินทร์ อำเภอ การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ189 ตำบล2212 หมู่บ้าน
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ
การเดินทางมาจังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์มีขบวนรถด่วนพิเศษสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ทั้งขบวน ขบวนรถด่วนสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ ขบวนรถเร็วสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 ขบวน ขบวนรถธรรมดาสายกรุงเทพ-สุรินทร์ และขบวนรถท้องถิ่นสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 ขบวน จังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานีผ่านอำเภอต่างๆ ดังนี้
ปัจจุบันบริษัท นกแอร์จำกัด และบริษัท ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์จำกัด มีเครื่องบินไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ มาลงที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์(อำเภอสตึก) อยู่ประจำ
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1
วนอุนทยานภูเขาไฟกระโดงวนอุนทยานภูเขาไฟกระโดง วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรองพระพุทธบาทจำลอง และมี พระสุภัทรบพิตรพระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ อยู่บนยอดเขา และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเต็งรัง เนื้อที่ประมาณ 6 พันไร่ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่หาชมได้ยาก เช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ ที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า พนมกระดอง เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขากระดอง (เต่า) เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น กระโดง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปราสาทพนมรุ้งสถานที่ตั้ง ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ เปิดให้เข้าชม: เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโบราณสถานศิลปะแบบเขมรในประเทศไทยที่มีความงดงามและมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาลอีกด้วย กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 - 18 ชื่อ “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี้ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง การเดินทาง รถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี) ลงที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ และต่อรถยนต์มายังอุทยานประวัติสาสตร์พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง รถโดยสารประจำทาง บขส. เส้นทางกรุงเทพฯ-พนมรุ้ง ระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร ลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วต่อรถรับจ้างขึ้นสู่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สนามฟุตบอลช้างอารีนาสถานที่ตั้ง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย สนามฟุตบอลช้างอารีนา (Chang Arena) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หรือทีมปราสาทสายฟ้า อีกทั้งยังเป็นสนามฟุตบอลมาตรฐานฟีฟ่า สามารถจุผู้ชมได้มากที่สุดถึง 32,600 ที่นั่ง โดยตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สนามฟุตบอลช้างอารีนา (Chang Arena) เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนาม โดยได้ผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ, มาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนอีกด้วย นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่ใกล้กับสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้าง อารีน่า ใจกลางเมืองบุรีรัมย์ ใกล้สนามบินบุรีรัมย์ ทำให้เมืองบุรีรัมย์ได้กลายเป็นเมืองแห่งการกีฬาเต็มรูปแบบอย่างแท้จริง การเดินทางไปยังสนามฟุตบอลช้างอารีนาการเดินทางจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปยังสนามฟุตบอลช้างอารีนา (Chang Arena) สามารถเดินทางได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
หรือหากเดินทางจากกรุงเทพก็สามารถเดินทางได้หลายวิธีเช่นเดียวกัน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปราสาทเมืองต่ำสถานที่ตั้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ ตำบล จรเข้มาก อำเภอประโคนชัย บุรีรัมย์ 31140 เวลาทำการ : ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่บริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือชุมชน จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก หลักฐานเหล่านี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว 1,000 ปีมาแล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรัก ผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้ง ไปยังปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียง บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย |
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล